conference

การใช้งาน Video conference

การติดต่อสื่อสารทางไกลหรือระบบ Video Conference คือ การส่งข้อมูลสัญญาณภาพและสัญญาณเสียง โต้ตอบไปมาผ่านเครือข่ายสื่อสารภายในองค์กร หรือเครือข่ายสื่อสารภายนอกองค์กร ในรูปแบบของดิจิตอล จึงทำให้การประชุมข้ามวิทยาเขต / ข้ามหน่วยงาน การเรียนการสอนทางไกล (Distance Learning)  ซึ่งอยู่ต่างสถานที่กันในหลายจุด สามารถดำเนินกิจกรรมได้เสมือนอยู่ในห้องเดียวกันในลักษณะ Real Time Interactive ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนงานการเรียนการสอนแบบ  hybrid learning  งานพัฒนาการฝึกอบรมแบบ online training ตลอดจนการบริหารงานของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกรวดเร็ว และปัจจุบันระบบ Video Conference เข้ามามีความสำคัญในการทำงานในยุคหลังโควิดมากขึ้น ซึ่งเพิ่มความสะดวกสบายในการทำงานให้กับผู้ใช้งานอย่างมาก

ในปัจจุบันมีการใช้งานระบบ Video conference สามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  1. การใช้งานระบบ Video conference สำหรับการประชุมออนไลน์ระหว่างวิทยาเขต/หน่วยงาน ▶
  2. การใช้งานระบบ Video conference สำหรับการเรียนการสอนแบบออนไลน์และการเรียนการสอนแบบ Hybrid ▶
  3. การใช้งานระบบ video conference สำหรับการอบรมออนไลน์ (Online Training) ▶

ชุดอุปกรณ์ และโปรแกรม Video Conferencing ที่ใช้ในปัจจุบัน

ระบบ Virtual Classroom Phase 1-2

เป็นการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนธรรมดา ที่ผ่านอุปกรณ์ระบบเครือข่ายสื่อสาร ทำให้ส่งสัญญาณภาพและเสียงการบรรยายของผู้สอน เนื้อหาของบทเรียน ผ่านทางระบบเครือข่ายสื่อสารไปยังผู้เรียนที่อยู่นอกห้องเรียนหรือในห้องเรียนที่ต่างสถานที่ก็ได้ ผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้ อุปกรณ์ติดต่อสื่อสารแบบพกพาก็ได้ และผู้สอน สามารถพูดโต้ตอบกับผู้เรียนได้แบบเรียลไทม์ แชร์เอกสารการสอนได้ โดยได้ออกแบบการใช้งานเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่

รูปแบบที่ 1 Teacher

รูปแบบที่ 2 Student

รูปแบบที่ 3 Meeting

มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีการใช้งานอุปกรณ์ระบบ Virtual Classroom ดังนี้

Cisco Webex Room Kit Pro

  • Protocols H.323 , SIP , Cisco Webex
  • Up to 6 Mbps point-to-point
  • Up to 15 Mbps total MultiSite bandwidth
  • MultiSite 4 point – resolution up to 1080p30

Cisco telepresence precision 60 camera

  • Resolution 1920 x 1080 at 60 fps
  • Zoom 10x optical zoom
  • tracking camera compatible with codec

cisco telepresence speaker track 60

  • Dual-camera (cisco telepresence precision 60 camera)
  • Technique to quickly view a close-up of the active speaker in the meeting room

cisco ceiling microphone

  • Maximum microphone range 4.3m

ได้ติดตั้งระบบ Virtual Classroom Phase 1-2 ตามวิทยาเขตและคณะ สถาบัน ต่างๆ จำนวน 15 แห่ง พร้อมให้บริการการเรียนการสอนทางไกล การเรียนการสอนแบบ Hybrid Learning และ การประชุมทางไกล อาทิเช่น

• มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา อาคารศูนย์การเรียนรู้ ชั้น 2 ห้องมินิเธียเตอร์ (Mu Cyber Club ) ความจุ 30 ที่นั่ง

มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี อาคารเรียนรวม ห้องประชุมนิลกาญจน์ ความจุ 120 ที่นั่ง

มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ อาคารเรียนรวม ห้อง 2260 ความจุ 64 ที่นั่ง

มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ อาคารวิทยาศาสตร์อเนกประสงค์ อาคารที่ 6 ชั้น 2 ห้อง smart class room ความจุ 40 ที่นั่ง

ระบบ Virtual Classroom Phase 3

เป็นการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนธรรมดา ที่ผ่านอุปกรณ์ระบบภาพและเสียงมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายสื่อสาร ทำให้ส่งสัญญาณภาพและเสียงการบรรยายของผู้สอน เนื้อหาของบทเรียน ผ่านทางระบบเครือข่ายสื่อสารไปยังผู้เรียนที่อยู่นอกห้องเรียนหรือในห้องเรียนที่ต่างสถานที่ก็ได้ ผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้ อุปกรณ์ติดต่อสื่อสารแบบพกพาก็ได้ และผู้สอน สามารถพูดโต้ตอบกับผู้เรียนได้แบบเรียลไทม์ แชร์เอกสารการสอนได้ โดยได้ออกแบบการใช้งานเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่

  1. Lecture Room
    เป็นการเรียนการสอนเฉพาะภายในห้องเรียน (Onsite) ผู้สอนสามารถเลือกการแสดงภาพเนื้อหาการบรรยายผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ไร้สายได้
  2. Online Learning
    เป็นการเรียนการสอนในห้องเรียน แบบ online หรือแบบ Hybrid ผู้สอนหรือผู้ช่วยสอนสามารถเลือกอุปกรณ์แสดงภาพแบบออนไลน์ได้อย่างอิสระ ได้แก่
    • กล้องแสดงภาพผู้สอน
    • กล้องแสดงภาพผู้เรียน
    • ภาพจากเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้สอน
    • ภาพจากอุปกรณ์ไร้สาย

เลือกภาพที่ต้องการใช้งาน online ส่งผ่านระบบเครือข่ายสื่อสารไปยังผู้เรียนได้ และสามารถแสดงภาพกล้องหรือภาพคอมพิวเตอร์ผ่านจอภาพภายในห้องเรียนได้อย่างอิสระ
โดยขอยกตัวอย่างการใช้งาน ดังนี้

  • รูปแบบที่ 1 แสดงภาพเนื้อหาการบรรยายที่จอภาพโปรเจคเตอร์  แสดงภาพผู้สอนในห้องเรียนที่จอ 65 นิ้ว
  • รูปแบบที่ 2 แสดงภาพเนื้อหาการบรรยายที่จอภาพโปรเจคเตอร์  แสดงภาพผู้เรียนออนไลน์ที่จอ 65 นิ้ว
  • รูปแบบที่ 3 แสดงภาพผู้สอนออนไลน์ที่จอภาพโปรเจคเตอร์       แสดงภาพเนื้อหาการบรรยายที่จอ 65 นิ้ว
  • รูปแบบที่ 4 แสดงภาพผู้สอนในห้องเรียนที่จอภาพโปรเจคเตอร์       แสดงภาพผู้เรียนในห้องเรียนที่จอ 65 นิ้ว

มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีการใช้งานอุปกรณ์ระบบ Virtual Classroom Phase 3 ดังนี้

อุปกรณ์ระบบ ATEN Control System ทำหน้าที่ควบคุมและสั่งการอุปกรณ์ระบบภาพต่าง ๆ ผ่าน เครือข่ายภายใน โดยกำหนด ip address ให้อุปกรณ์ภาพต่างๆให้อยู่ในวงแลนด้วยกัน ในห้องเรียนและห้องประชุมแบบ Automation ไม่ว่าจะเป็น โปรเจคเตอร์, ทีวี, กล้องวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ , เครื่องสลับและผสมสัญญาณภาพ เป็นต้น โดยการควบคุมและสั่งการจะเป็นผู้สอนหรือผู้ช่วยสอนหรือเจ้าหน้าที่ก็สามารถใช้งานควบคุมสั่งการผ่านจอทัชสกรีนหรือ Smartphone , Tablet ทั้ง iOS และ Android หรือควบคุมผ่าน Windows ได้

ประกอบด้วยอุปกรณ์หลักดังนี้

1. ATEN COMPACT CONTROL BOX GEN2 รุ่น VK1200

ทำหน้าที่เป็นเครื่องควบคุมอุปกรณ์ปลายทางจาก iPad / Android Tablet / PC ได้ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ LAN มีซอฟต์แวร์สำหรับตั้งค่าและสร้างเมนูเพื่อควบคุมอุปกรณ์ มี Web GUI สำหรับตั้งค่าของระบบ รองรับการเชื่อมต่อควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ LAN ได้สูงสุด 64 อุปกรณ์ สามารถควบคุมอุปกรณ์ด้วย iOS, Android และ Windows และสามารถจำกัดการเข้าถึงการควบคุมอุปกรณ์ได้ ด้วยรหัสผ่าน

2. AI AUTO TRACKING CAMERA 20X SMART LECTURE รุ่น PTZ822AT

ทำหน้าที่เป็นกล้องหมุน PTZ ตามผู้สอนหรือผู้บรรยายอัตโนมัติ ใช้เซ็นเซอร์รับภาพ Sony 1/2.8” CMOS ความละเอียด 2.14 ล้านพิกเซล มี Optical Zoom 20 เท่า สามารถบันทึกตำแหน่งกล้องไม่น้อยกว่า 64 Preset มีระบบ Auto Switch สลับภาพระหว่างกล้อง Zoom และกล้อง Panoramic สามารถกำหนด Whiteboard zone ได้ เมื่อครูเขียนกระดาน Whiteboard หรือจอ Interactive กล้องจะเรียกใช้ Preset ที่ตั้งไว้อัตโนมัติ ช่วยให้นักเรียนเห็นข้อความบนกระดานได้ชัดเจนขึ้น

3. 20X OPTICAL ZOOM PTZ VIDEO CONFERENCE CAMERA WITH HDMI, SDI, USB3.0, LAN รุ่น PTZ520

ทำหน้าที่เป็นกล้องจับภาพผู้เรียน ตัวกล้องใช้ CMOS sensor ขนาด 1/2.8 นิ้ว ความละเอียด 2 ล้านพิกเซลรองรับ Optical Zoom 20x และ Digital Zoom 16x มีช่องสัญญาณ HDMI, SDI, USB3.0, LAN (IP Stream) output ตั้งค่า Preset สูงสุด 64 Present และช่องต่อ HDMI/SDI output รองรับความละเอียด 1080p60fps

4. ATEN 4X4 HDMI VIDEO WALL MATRIX SWITCH WITH SCALER รุ่น VM5404H

ทำหน้าที่สลับสัญญาณวิดีโอ จาก 4 ช่องสัญญาณขาเข้า สลับแสดงผลออก 4 ช่องสัญญาณขาออก แบบอิสระ เป็น Seamless Switch สลับภาพได้ต่อเนื่อง ไม่ปรากฏจอดำระหว่างสลับภาพ รองรับความละเอียด 1080p รองรับการควบคุมทาง Serial port (RS232) , Web browser Graphical User Interface (GUI) , Telnet และ ปุ่มกดด้านหน้าเครื่อง

5. ATEN TOUCH PANEL รุ่น VK330

ทำหน้าที่เป็นจอควบคุมสั่งการแบบทัชสกรีน ขนาด 10.1 นิ้ว ชนิด TFT-LCD เป็นจอ Multi-Touch screen ชนิด Capacitive หน้าจอมีความละเอียด 1280×800 พิกเซล อัตราส่วน 16:10 มีช่องต่อ Ethernet 1 ช่อง ที่รองรับ Power Over Ethernet (PoE) มาตรฐาน 802.3 af PoE / 802.3 at PoE+ มีระบบปฏิบัติการ Android ที่มาพร้อม App ATEN Control System และ License สำหรับใช้งานร่วมกับ ATEN Control System

6. 8-OUTLET ECO PDU รุ่น PE6208AV

ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ควบคุมการสั่ง เปิด-ปิด อุปกรณ์ ได้ผ่าน LAN, Internet รองรับ 8 Outlet ใช้งาน PDU ได้ผ่าน Web Browser ได้ สามารถตั้งหน่วงเวลา (delay time) ในการเปิดปิดอุปกรณ์แต่ละ Outlet เรียงลำดับกันไปได้ รองรับการเก็บบันทึกเหตุการณ์ ( Log ) มีฟังก์ชั่น Proactive Overload Protection ช่วยตัดไฟเฉพาะ Outlet ที่เป็นสาเหตุให้ไฟเกินได้ และสามารถตรวจสอบสถานะการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าจากจอทัชสกรีนได้

ได้ติดตั้งระบบ Virtual Classroom Phase 3 ตามคณะ สถาบัน ต่างๆ จำนวน 23 แห่ง พร้อมให้บริการการเรียนการสอนออนไลน์ การเรียนการสอนแบบ Hybrid Learning และ การประชุมออนไลน์ การอบรมออนไลน์ การสัมมนาออนไลน์ อาทิเช่น

  • ศาลายา 1
  • พญาไท 1
  • บางกอกน้อย 1
  • กาญจนบุรี 1

Cisco Webex

เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพในการประชุมทางไกลในองค์กร ให้สะดวกมากขึ้น ใช้ในการเรียนการสอนทางไกล ผ่านทางหน้าเวปหรือผ่านมือถือ โดยผู้สอนสามารถอยู่ห้องทำงานส่วนตัวได้และผู้เรียนก็ไม่จําเป็น ต้องเดินทางเข้ามาในห้องเรียน โดยแต่ละ Admin หรือ Instructor สามารถสร้างห้องประชุม ใช้งานได้ทันที สร้างตารางนัดหมายการใช้งานล่วงหน้าได้ แต่ละห้องสามารถใช้พร้อมกันได้ 1,000 คน สามารถแชร์โปรแกรมและหน้าเดสท็อปได้ สามารถบันทึกเนื้อหาการประชุมได้ ในรูปแบบของ ไฟล์วิดีโอทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์

  • Webex Meeting
    ช่วยให้การเรียนการสอนทางไกล ระหว่างอาจารย์และนักศึกษา สามารถมองเห็นไฟล์ หรือ เอกสารจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้สอน รวมถึงภาพวิดีโอ และสามารถพูดคุยโต้ตอบกันได้ทั้งจากที่บ้าน ที่มหาวิทยาลัย วิทยาเขตต่างๆ และทุกที่ที่มีอินเตอร์เน็ต สามารถใช้ได้หลากหลายอุปกรณ์ (PC, Tablet, Notebook, MAC, iPad, Smartphone) ด้วยคุณภาพวิดีโอระดับ High Quality และสามารถรองรับผู้เรียนได้สูงสุด 1,000 คน ต่อ 1 ห้องเรียน
  • Webex Webinar
    Webinar หรือการสัมมนาออนไลน์ที่จะเปิดให้ทั้งผู้นำเสนอหรือผู้ร่วมอภิปรายเข้าร่วมได้พร้อมกันไม่จำกัดจำนวน และสามารถให้สิทธิผู้เข้าร่วมสัมมนาออนไลน์ได้แบ่งปันความรู้ และความคิดเห็นกันได้ผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งหมด ไม่ว่าจะ เป็น PC , Android และ IOS โดย Webinar จะมีฟังก์ชันในการโต้ตอบกับผู้เข้าร่วมสัมมนา ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง Poll การทำ Q&A โดยผู้ที่เข้าร่วมสัมมนาทั่วไปจะสามารถรับชมเสมือนกับการดูถ่ายทอดสดอยู่เท่านั้น จะไม่มีสิทธิในการเปิดกล้องและไมค์เพื่อโต้ตอบกับผู้เข้าร่วมคนอื่น ทั้งนี้ Webinar มีข้อจำกัดในการให้ผู้เข้าร่วมทั่วไปได้ลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมจำนวน 10,000 คน แต่สามารถเข้าร่วมได้เพียง 1,000 คนเท่านั้น

การจองห้องประชุม และจองการใช้บริการ Video Conferencing ในภายตึกสำนักงานอธิการบดี

  1. จองห้องประชุมได้ที่ http://intranet.mahidol/ เมนูจองห้องประชุม (สำนักงานอธิการบดี) เพื่อแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของกองบริหารงานทั่วไปที่ดูแลเรื่องการจองห้องประชุมรับทราบ
  2. ห้องประชุมที่มีการติดตั้งอุปกรณ์ เพื่อรองรับการใช้งานการประชุมออนไลน์ภายในอาคารสำนักงานอธิการบดี และอาคาร ศูนย์การเรียนรู้มหิดล ได้แก่
    • ห้องประชุม OSM 1
    • ห้องประชุม OSM 2
    • ห้องประชุม OSM 3
    • ห้องประชุม 308
    • ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณนที รักษ์พลเมือง
    • ห้องประชุม M01
    • ห้องประชุม M02
    • ห้อง Mini Theater (MU Cyber Club) อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล
  3. เมื่อจองห้องประชุมเสร็จเรียบร้อยสถานะการจองในระบบได้รับการอนุมัติแล้ว จองการใช้บริการงาน Video Conference (เพื่อแจ้งให้เจ้าหน้าที่กองเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดูแลเรื่องระบบประชุมออนไลน์รับทราบ) ได้ดังนี้
    • เข้าเว็บไซต์ http://intranet.mahidol/
    • ไปที่เมนู จองห้องประชุม (สำนักงานอธิการบดี)
    • ลิงค์ และ QR Code จองการใช้งาน video conference ของสำนักงานอธิการบดี อยู่ท้ายแบบฟอร์มบันทึกข้อมูลการจองห้องประชุม สนง.อธิการบดี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
โทรศัพท์ : 0 2849 6027


Scroll to Top