Global Website TH / EN

ริการ Video Conference
 

การใช้งานระบบ Video Conferencing
สำหรับการประชุมทางไกลระหว่างวิทยาเขต/หน่วยงาน

มีอุปกรณ์และโปรแกรมระบบ Video Conferencing ที่รองรับรูปแบบในการใช้งานการประชุมทางไกลระหว่างวิทยาเขต / หน่วยงานภายใน และหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย ตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้บริการได้ ดังนี้

1. ชุดอุปกรณ์ระบบ Virtual Classroom เป็นห้องประชุมทางไกลโดยเฉพาะมีรูปแบบการใช้งาน ดังนี้

1.1. ชุดอุปกรณ์ระบบ Virtual Classroom ติดต่อสื่อสารกับชุดอุปกรณ์ระบบ Virtual Classroom ด้วยกัน สามารถใช้งานได้สูงสุด 4 จุดพร้อมกันโดยแต่ละจุดรองรับการเชื่อมต่อ 96 อุปกรณ์ ใช้ประชุมทางไกลได้ภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

1.2 ชุดอุปกรณ์ระบบ Virtual Classroom ติดต่อสื่อสารกับชุดอุปกรณ์ Video Conferencing ที่รองรับมาตราฐาน H.323 สามารถใช้งานได้สูงสุด 4 จุด โดยแต่ละจุดรองรับการเชื่อมต่อ 96 อุปกรณ์ ใช้ประชุมทางไกลได้ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

1.3 ชุดอุปกรณ์ระบบ Virtual Classroom ติดต่อสื่อสารกับโปรแกรม Cisco Webex สามารถใช้งานได้สูงสุด 6,120 จุด โดยแต่ละจุดรองรับการเชื่อมต่อ 1,000 อุปกรณ์ ใช้ประชุมทางไกลได้ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

1.4 ชุดอุปกรณ์ระบบ Virtual Classroom ติดต่อสื่อสารกับชุดอุปกรณ์ Video Conferencing ที่รองรับมาตราฐาน H.323+ โปรแกรม Cisco Webex สามารถใช้งานได้สูงสุด 6,120 จุด โดยแต่ละจุดรองรับการเชื่อมต่อ 1,000 อุปกรณ์ ใช้ประชุมทางไกลได้ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

*หมายเหตุ รูปแบบนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมเป็นหลัก

โดยสามารถเลือกห้องที่ใช้งานได้ตามขนาดที่นั่ง (ที่กองเทคโนโลยีสารสนเทศดูแล) ดังนี้

1. ห้องมินิเธียเตอร์ (Mu Cyber Club ) ชั้น 2 อาคารศูนย์การเรียนรู้ จำนวน 30 ที่นั่ง

2. ห้อง 516 ชั้น 5 อาคารสำนักงานอธิการบดี จำนวน 8 ที่นั่ง (ติดต่องานเลขาชั้น5)

 

2. โปรแกรม Cisco Webex

เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพในการประชุมทางไกลในองค์กร ให้สะดวกมากขึ้น ใช้ในการเรียนการสอนทางไกล ผ่านทาง หน้าเว็บไซต์หรือผ่านมือถือ โดยผู้สอนสามารถอยู่ห้องทำงานส่วนตัวได้และผู้เรียนก็ไม่จําเป็น ต้องเดินทางเข้ามาในห้องเรียน โดยแต่ละ Admin หรือ Instructor สามารถสร้างห้องประชุม ใช้งานได้ทันที สร้างตารางนัดหมายการใช้งานล่วงหน้าได้ และเข้าร่วมประชุมในห้องประชุม ที่สร้างขึ้นพร้อมกันได้สูงสุด 150 ห้อง แต่ละห้องสามารถใช้พร้อมกันได้ 200 จุด แบบแสดงกล้องและ 1000 จุดแบบฟังเพียงอย่างเดียว สามารถแชร์โปรแกรมและหน้าเดสท็อปได้ สามารถบันทึกเนื้อหาการประชุมได้ในรูปแบบของไฟล์วิดีโอทั้งแบบออนไลน์ และออฟไลน์

โดยสามารถเลือกห้องที่ใช้งานได้ตามขนาดที่นั่ง (ที่กองเทคโนโลยีสารสนเทศดูแล) ดังนี้

1. ห้องประชุม OSM 1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานอธิการบดี (จำนวน 25 ที่นั่ง)

2. ห้องประชุม OSM 2 ชั้น 2 อาคารสำนักงานอธิการบดี (จำนวน12 ที่นั่ง)

3. ห้องประชุม OSM 3 ชั้น 2 อาคารสำนักงานอธิการบดี (จำนวน 12 ที่นั่ง)

4. ห้องประชุม OSM 4 ชั้น 2 อาคารสำนักงานอธิการบดี (จำนวน 11 ที่นั่ง)

5. ห้องประชุม 515 ชั้น 5 อาคารสำนักงานอธิการบดี (จำนวน 20 ที่นั่ง)(ติดต่องานเลขาชั้น5)

6. ห้องประชุม 516 ชั้น 5 อาคารสำนักงานอธิการบดี (จำนวน 8 ที่นั่ง)(ติดต่องานเลขาชั้น5)

7. ห้องประชุม 531 ชั้น 5 อาคารสำนักงานอธิการบดี (จำนวน 24 ที่นั่ง)

8. ห้องประชุม 523 ชั้น 5 อาคารสำนักงานอธิการบดี (จำนวน 10 ที่นั่ง)

9. ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณนที รักษ์พลเมือง ชั้น 5 อาคารสำนักงานอธิการบดี (จำนวน 70 ที่นั่ง)

10. ห้อง Mini Theater (MU Cyber Club) อาคารศูนย์การเรียนรู้ (จำนวน 30 ที่นั่ง)

 

 

ขั้นตอนการขอใช้บริการการประชุมทางไกลระหว่างวิทยาเขต/หน่วยงาน

1. เลือกรูปแบบการประชุมทางไกลที่เหมาะสมกับผู้ใช้บริการ

2. จองวันเวลาการใช้งานการประชุมทางไกลระหว่างวิทยาเขต/หน่วยงานได้ที่ http://imedia.mahidol/

3. เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับเมล์จองการใช้งานผ่านระบบ imedia แล้วจะติดต่อกลับผู้ขอใช้บริการทางเมล์หรือทางโทรศัพท์ที่ได้ระบุไว้

4. นัดทดสอบระบบหรือติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมก่อนวันใช้งานจริง

ข้อแนะนำในการใช้บริการการประชุมทางไกลระหว่างวิทยาเขต/หน่วยงาน

1. กรณีผู้ขอใช้บริการต้องการแชร์เอกสารที่ใช้ในการประชุมควรส่ง File ที่จะใช้ในการประชุมเพื่อทำการติดตั้งและทดสอบล่วงหน้า

2. หากมีเอกสารที่ใช้ในการประชุมควรส่งให้ผู้เข้าร่วมประชุมล่วงหน้า

3. ในวันใช้งานจริงผู้ขอใช้บริการจะต้องมาถึงห้องประชุมก่อนเวลาใช้งานอย่างน้อย 15 นาที

4. ควรมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องประจำวิทยาเขตหรือหน่วยงานนั้นๆมาดูแลระบบการประชุมทางไกล

5. ระหว่างการประชุมทางไกลให้ผู้ใช้งานมองที่จอภาพซึ่งแสดงภาพของคู่สนทนา เมื่อต้องการพูดให้เปิดไมค์ทุกครั้งและปิดไมค์ทุกครั้งหลังพูดจบ ไม่ควรพูดเร็วหรือพูดต่อเนื่องยาวจนเกินไปและไม่ควรพูดสวนกลับขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งกำลังพูดอยู่ ขอให้สื่อความหมายที่แสดงว่าได้พูดจบประโยคแล้ว

ติดต่อขอรับบริการ

ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดการให้บริการการประชุมทางไกลระหว่างวิทยาเขต/หน่วยงาน ได้ที่

กองเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170

โทรศัพท์ : 0 2849 6022

โทรสาร (อัตโนมัติ) : 0 2849 6039

E-mail :
courseware.consult@mahidol.ac.th

 
 
 

Copyright © 2009 Mahidol University. All rights reserved.

999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170
Last updated : March 8, 2021

Phone: 662-849-6022

FAX:    662-849-6039